Blog

ทำไมอาชีพผู้สอบบัญชีถึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจ

ac

ทำไมอาชีพผู้สอบบัญชีถึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจ

Student blog — 24/01/2025

ทำไมอาชีพผู้สอบบัญชีถึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจ

ผู้สอบบัญชี หรือ Auditor คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของงบการเงินของบริษัทหรือองค์กรต่างๆ เป้าหมายหลักของการสอบบัญชี คือ การแสดงความเห็นต่องบการเงินว่าแสดงภาพสะท้อนที่ถูกต้องตามสมควรของฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ

หน้าที่หลักของผู้สอบบัญชี
  • ตรวจสอบงบการเงิน: ตรวจสอบว่าธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ได้รับการบันทึกถูกต้องตามหลักการบัญชีหรือไม่ มีการรวบรวมหลักฐานในการสอบบัญชีและพิจารณาถึงความเพียงพอและเหมาะสมของหลักฐานนั้น อีกทั้งยังตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารบัญชีต่างๆที่ใช้ประกอบการลงรายการบัญชี เช่น ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญจ่าย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวเลขในงบการเงิน และข้อมูลอื่นๆรวมถึงข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน
  • ประเมินระบบควบคุมภายใน: ประเมินระบบควบคุมภายในขององค์กรว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกันความผิดพลาดและการฉ้อโกงหรือไม่ และมีผลอย่างไรกับข้อมูลทางการเงิน
  • วิเคราะห์งบการเงิน: วิเคราะห์งบการเงินเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน และกระแสเงินสดขององค์กร และเพื่อหาความสัมพันธ์ที่ผิดปกติของข้อมูล ซึ่งจะใช้ประกอบการแสดงความเห็นต่องบการเงิน
  • แสดงความเห็นต่องบการเงิน: ออกรายงานของผู้สอบบัญชีโดยแสดงความเห็นต่องบการเงินว่าแสดงภาพสะท้อนที่ถูกต้องตามสมควรของฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ
การเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) นั้นมาพร้อมกับข้อดีหลายประการที่ทำให้เป็นอาชีพที่น่าสนใจและมีความมั่นคงสูง
ข้อดีของการเป็นผู้สอบบัญชี
  • ความมั่นคงในอาชีพ: ความต้องการผู้สอบบัญชีที่มีความรู้ความสามารถสูงมีอยู่ตลอดเวลา ทั้งในภาคธุรกิจ ภาครัฐ และองค์กรต่างๆ ทำให้มั่นใจได้ในเรื่องของการมีงานทำ
  • รายได้สูง: อาชีพผู้สอบบัญชีมักจะมีรายได้ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เพิ่มขึ้น
  • โอกาสในการเติบโตในสายอาชีพ: ผู้สอบบัญชีสามารถก้าวหน้าในสายอาชีพได้หลากหลาย เช่น เป็นผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน หรือแม้แต่ผู้บริหารระดับสูงในองค์กร
  • ความรู้ที่หลากหลาย: การทำงานเป็นผู้สอบบัญชีจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจต่างๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้มีความรู้ที่กว้างขวางและรอบด้าน
  • ความน่าเชื่อถือ: ผู้สอบบัญชีได้รับการยอมรับในสังคมว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และมีความน่าเชื่อถือสูง
  • โอกาสในการทำงานต่างประเทศ: บริษัทสอบบัญชีขนาดใหญ่หลายแห่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก ทำให้มีโอกาสได้ทำงานต่างประเทศ
  • การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง: ผู้สอบบัญชีจำเป็นต้องติดตามข่าวสารและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ทำให้ต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ การเป็นผู้สอบบัญชี ยังช่วยให้คุณได้พัฒนาทักษะสำคัญหลายด้าน ดังนี้
  • ทักษะการวิเคราะห์: สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินและตัวเลขได้อย่างแม่นยำ
  • ทักษะการแก้ปัญหา: สามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทักษะการสื่อสาร: สามารถสื่อสารข้อมูลทางการเงินให้ผู้ที่ไม่ใช่นักบัญชีเข้าใจได้ง่าย
  • ทักษะการทำงานเป็นทีม: ต้องทำงานร่วมกับทีมงานอื่นๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  • ทักษะการจัดการเวลา: ต้องสามารถจัดการเวลาและงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เส้นทางสู่การเป็น CPA
  • สำเร็จการศึกษา สาขาบัญชี: ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นที่ขาดไม่ได้ในการสอบ CPA และหลักสูตรต้องได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี
  • ผ่านการสอบ CPA: การสอบ CPA ประกอบด้วย 6 วิชา ได้แก่ การบัญชี 1 การบัญชี 2 การสอบบัญชี 1 การสอบบัญชี 2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี 2
  • ฝึกงาน: เมื่อได้ที่ทำงาน ต้องรีบขึ้นทะเบียนฝึกงาน เพื่อเริ่มนับชั่วโมงการฝึกงาน โดยต้องฝึกงานกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานจริง
  • ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ: เมื่อผ่านทุกขั้นตอนข้างต้นแล้ว สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ ทางสภาวิชาชีพบัญชีจะตรวจสอบคุณสมบัติอื่นๆ เมื่อผ่าน จึงออกใบอนุญาตผู้สอบบัญชีให้ โดยใบอนุญาตนี้ ไม่มีวันหมดอายุ แต่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับด้านจรรยาบรรณ มิเช่นนั้น ใบอนุญาตของท่านอาจถูกพักหรือเพิกถอนได้

⇨ หลักสูตรบัญชีของม.หอการค้าไทย ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี
⇨ สถานที่จัดสอบ CPA คือ ม.หอการค้าไทย
⇨ หลักสูตรบัญชีของม.หอการค้าไทย ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ มีโครงการสหกิจศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลองทำงานจริงในสถานประกอบการ ในทุกปี จะมีนักศึกษาม.หอการค้าไทย ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ ได้รับโอกาสฝึกงานภายใต้โครงการสหกิจศึกษาในสำนักงานบัญชี Big4 และสำนักงานบัญชีระดับโลก และมีศิษย์เก่าของเราทำงานอยู่ในสำนักงานบัญชี Big4 ทุกแห่ง
⇨ หลักสูตรบัญชีของม.หอการค้าไทย ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ สอนด้วยมาตรฐานบัญชีที่ใช้กันในระดับสากล ศิษย์เก่าของหลักสูตรบัญชีอินเตอร์ ทำงานทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย