เกี่ยวกับคณะ

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ประวัติความเป็นมา

คณะบัญชี ได้ทำการสอนวิชาการบัญชีมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวิทยาลัยการค้าซี่งขณะนั้นเป็นหลักสูตร 6 เดือน และหลักสูตร 2 ปีหลักสูตรนี้เปิดได้เพียง 1 ปี เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เป็นเหตุให้หลักสูตรนี้ต้องปิดการเรียนการสอนไปพร้อมกับวิทยาลัยการค้าระยะหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2506 วิทยาลัยจึงได้เปิดการเรียนการสอนอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยการพาณิชย์” หลักสูตรที่เปิดสอนในระยะนั้นเป็นหลักสูตร 5 ปี ผู้จบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงจากวิทยาลัยการค้าทุกสาขา รวมทั้งผู้ที่จบสาขาวิชาการบัญชีด้วย

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงหลักสูตร 4 ปี
มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ต่อมาในปี พ.ศ.2513 คณะบัญชีปรับปรุงหลักสูตรใหม่เป็น หลักสูตรปริญญาตรีทางการบัญชีและได้รับรองมาตรฐานจากทบวงมหาวิทยาลัย ให้มีศักดิ์และสิทธิเท่ากับผู้จบปริญญาตรีทางการบัญชีจากมหาวิทยาลัยของรัฐทุกประการ

เมื่อปี 2559 คณะบัญชีได้ปรับปรุงหลักสูตรต่างๆของคณะให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ได้แก่ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ระบบการศึกษาทางไกลทางอิเล็กทรอนิกส์) หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (นานาชาติ) หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (โปรแกรมการศึกษา กลุ่มปวส.) หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (โปรแกรมการศึกษา ปริญญาที่สอง) หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบภายใน เพื่อจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2560

ปี 2560 คณะบัญชีได้ดำเนินการร่างหลักสูตร 1 ปริญญา คือ หลักสูตรบัญชีดุษฎีบัณฑิต และได้ดำเนินการแจ้งปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการภาษีอากร เนื่องจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษาเรียบร้อยแล้ว

ปีที่ก่อตั้ง 2506
สีประจำคณะ สีม่วงคราม
สัญลักษณ์ประจำคณะ ดอกฟ้ามุ่ย

วิสัยทัศน์

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถาบันทางการศึกษาชั้นนำในการผลิตบัณฑิตด้านวิชาชีพบัญชีระดับอาเซียน

พันธกิจ

1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ตรงกับความต้องการของตลาดงาน และมีความเป็นเลิศในการสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมทั้งสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม
2. ส่งเสริมงานวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
3. เพิ่มศักยภาพและเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สร้างความภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทยให้แก่นักศึกษาและบุคลากร
5. พัฒนาการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล

ปรัชญา / ปณิธาน

สร้างนักบัญชีที่มีคุณภาพ ยึดมั่นจรรยา พัฒนาวิชาชีพบัญชี

วัตถุประสงค์

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพบัญชีของไทย ให้มีคุณภาพในระดับสากล ฉะนั้นในฐานะที่เป็นองค์กรการศึกษาจึงมุ่งสร้างบัณฑิตทางด้านบัญชีที่มีความรู้ความสามารถเพื่อเข้าสู่ตลาดวิชาชีพบัญชี รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ทั้งในศาสตร์ของการบัญชี และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อถ่ายทอดให้กับนักศึกษาและผู้ที่สนใจ โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาชีพบัญชีและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ได้จริง รวมถึงมีความรู้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ
2 เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
3 เพื่อพัฒนาหลักสูตรการบัญชีให้ทันสมัยและเป็นสากล สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม
4 พัฒนาและส่งเสริมคณาจารย์ให้ผลิตผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ และมีประสบการณ์วิชาชีพบัญชี เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการสอนและการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
5 มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม

ทำไมต้องเรียนที่นี่

เรียนบัญชีแนวใหม่ ต้องสัมผัสประสบการณ์แบบนักบัญชีตัวจริง
รู้ไหมว่า “โลกธุรกิจ” แตกต่างจากโลกที่เราใช้ชีวิตประจำวันอยู่มาก ทั้งการแข่งขัน ความใฝ่ฝันของผู้คน ความพ่ายแพ้ ความสำเร็จ คนที่ก้าวทันโลกธุรกิจ ย่อมได้เปรียบกว่าคนอื่น ประสบการณ์จริงในงานด้านบัญชี…เป็นเรื่องสนุก และท้าทาย และเหนืออื่นใด เป็นสาขาวิชาชีพที่โลกธุรกิจมีความต้องการมาก หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเป็น “นักบัญชีมืออาชีพ” ในอนาคต ที่สามารถเลือกองค์กร ที่คุณจะเข้าไปเป็นสมาชิกได้ ลองถามใจคุณเองซิว่า…คุณพร้อมที่จะเป็นนักบัญชีผู้นั้นหรือยัง? หากเปรียบทั้งองค์กรธุรกิจเป็นร่างกาย นักบัญชีเปรียบ เสมือนแพทย์ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสุขภาพทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อให้การบริหารการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเหตุนี้นักบัญชีมืออาชีพ จึงเป็นที่ต้องการของธุรกิจเสมอ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มุ่งสร้างนักบัญชียุคใหม่ ผู้รอบรู้ในวิชาชีพ มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริง ก้าวทันเทคโนโลยี และสามารถใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางบัญชี ให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรธุรกิจได้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับทั่วไปในวงการธุรกิจชั้นนำถึงคุณภาพของบัณฑิตคณะบัญชีแห่งนี้

ผู้บริหารคณะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลักขณา เศาธยะนันท์

ตำแหน่ง: รองอธิการบดีอาวุโสสายงานบริหาร และ รักษาการคณบดีคณะบัญชี

อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 14, ชั้น 17 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน:

  • สถิติทางธุรกิจ

วุฒิการศึกษา:

ปริญญาโท
สต.ม.(การบัญชีการเงิน) จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย

ปริญญาตรี
วท.บ.(คณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ผศ.จันทร์เจ้า edit2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทร์เจ้า สุภรรุ่งเจริญ

ตำแหน่ง: รักษาการรองคณบดีฝ่ายบริหารคณะบัญชี

  • ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิชาการบัญชี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2560 – 2562)
  • คณะกรรมการประเมินผลงานของผู้ขอรับการประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ตำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ (สายงานวิชาการบัญชี และสายงานวิชาการเงินและบัญชี) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2563 – 2565)

อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 14 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน:

  • บัญชีการเงิน

วุฒิการศึกษา:

ปริญญาเอก
Ph.D. (Candidate) Program in Business Administration, Kasetsart University.

ปริญญาโท
บช.ม. (บัญชีการเงิน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาตรี
บช.บ. (การสอบบัญชี) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ผศ.วิสัน คล่องชุติโสภณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิสัน คล่องชุติโสภณ

ตำแหน่ง: รักษาการรองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะบัญชี

  • รองประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิชาการบัญชี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2558 – 2560)

อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 14 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน:

  • บัญชีการเงิน
  • บัญชีต้นทุน
  • การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์

วุฒิการศึกษา:

ปริญญาโท
บช.ม. (การบัญชีบริหาร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาตรี
บช.บ. (การสอบบัญชี) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

อ.สาวิตรี สมบูรณ์จันทร์ (3)

อาจารย์สาวิตรี สมบูรณ์จันทร์

ตำแหน่ง: รักษาการรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะบัญชี

  • ผู้แทนสภาวิชาชีพบัญชี (พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน)
    ทำหน้าที่เป็นกรรมการพัฒนาหลักสูตรทางการบัญชี ให้แก่สถาบันการศึกษา
  • อนุกรรมการและเลขานุการ (พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน)
    คณะอนุกรรมการกลั่นกรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์

อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 14 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน: 

  • ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

วุฒิการศึกษา:

ปริญญาโท
Master of Science in Accountancy, Loyola University Chicago, USA.

ปริญญาตรี
บช.บ. (ระบบสารสนเทศทางการบัญชี) (เกียรตินิยมอันดับ 1)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นางสาวขวัญใจ บริหาร

นางสาวขวัญใจ บริหาร

ตำแหน่ง: รักษาการเลขานุการคณะบัญชี

อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน: อาคาร 24 ชั้น 14 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

วุฒิการศึกษา:

ปริญญาตรี
ศศ.บ. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

เครือข่ายพันธมิตร

หอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์
YEC
สมาคมสำนักงานบัญชีคุณภาพ
มูลนิธิไทยเครดิต
ธ.ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย
logo-สมาคมสำนักงานบัญชีและกฎหมาย
logo-กลุ่มธนา-การบัญชี

ผลงานวิจัย

1. Accounting Practices and Value Relevance of Investment Property: Evidence from Firms Listed on the Stock Exchange of Thailand
-Assoc. Prof. Kittima Acaranupong
-Asian Journal of Business and Accounting 10(2), 2017
2. ความสามารถพยากรณ์ของข้อมูลผลการดำเนินงานในอดีตในการพยากรณ์กำไรในอนาคต
– รศ.ดร.พนารัตน์ ปานมณี
– วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ ปีที่57 ฉบับที่3 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2560
3. ปัจจัยและผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในประเทศไทยาน
– รศ.ดร.พนารัตน์ ปานมณี
– วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่8 ฉบับที่2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2560
4. การเปรียบเทียบความเกี่ยวข้องในการกําหนดมูลค่าหลักทรัพย์ของกําไร มูลค่าตามบัญชี และกระแสเงินสด: หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET 100 ในประเทศไทย
– รศ.ดร.กิตติมา อัครนุพงศ์
– วารสารวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 38 ปีที่ 13 (มิถุนายน 2560)
5. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกำไรส่วนเกินทุนกับการเลือกวิธีจ่ายซื้อธุรกิจในการควบรวมกิจการก่อนและหลังการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 542 (พ.ศ. 2555)
– ผศ.ดร.ษิรินุช นิ่มตระกูลชื่อผลงาน
– RMUTT Global Business and Economics Review ปีที่12 ฉบับที่ 2 เดือนธันวาคม 2560
6. ความรับผิดชอบทางสังคมผ่านการเปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำปี
– ผศ.สันนุดี เสลารัตน์
– วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่37 ฉบับที่3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2560

การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)

โครงการจัดการองค์ความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2563 จัดขึ้นในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เรื่อง “การสืบค้นข้อมูลวิจัยจากฐานข้อมูลการวิจัย Refinitiv DataStream 2021” ทางออนไลน์ ผ่านระบบ Microsoft teams วิทยากร โดย คณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะบัญชี และ วิทยากรจาก บริษัท รีฟินิทิฟ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และเป็นแนวทางในการส่งเสริมการทำงานวิจัยของคณาจารย์   ( link สำหรับรับชมวีดีโอ )